คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8308/2561

ว. เป็นมารดาของผู้คัดค้านทั้งสามย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุตรผู้เยาว์ ซึ่งทรัพย์สินหมายความรวมถึงสิทธิเรียกร้องอันเป็นวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ บทบัญญัติมาตรา 1574 มีเจตนารมณ์คุ้มครองประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์โดยให้ศาลกำกับดูแล การฝ่าฝืนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลก่อนก็ไม่ได้ตัดอำนาจทำนิติกรรมแทนของผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะหรือโมฆียะกรรม คงมีผลเพียงไม่ผูกพันบุตรผู้เยาว์ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครอง ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่มีสิทธิกล่าวอ้างเพื่อตัดอำนาจของผู้ใช้อำนาจปกครอง

 

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำคัดค้านว่า แม้นางสาววาณี ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้คัดค้านทั้งสามเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการโดยไม่ได้ขออนุญาตต่อศาลก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 (13) แต่การขออนุญาตดังกล่าวไม่ใช่แบบของนิติกรรม การเสนอข้อพิพาทดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นโมฆะ อันจะทำให้ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้ตามมาตรา 172 เพียงแต่มีผลไม่ผูกพันผู้เยาว์ทั้งสามเท่านั้น จึงเป็นกรณีที่ผู้เยาว์ทั้งสามเท่านั้นที่สามารถยกความเสียเปล่าขึ้นกล่าวอ้างเพื่อมิให้ตนต้องผูกพันตามข้อเสนอ และภายหลังจากอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดแล้ว ผู้ร้องได้สั่งจ่ายแคชเชียร์เช็คจำนวน 3 ฉบับ ในนามของผู้คัดค้านทั้งสามเพื่อชำระหนี้ และผู้คัดค้านทั้งสามนำแคชเชียร์เช็คไปเรียกเก็บเงินแล้ว ถือว่าผู้ร้องยอมรับตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านทั้งสามโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้ร้องตามกฎหมาย ดอกเบี้ยตามเช็คที่ให้รับผิดนับแต่วันที่มีการเรียกเก็บเงินตามเช็คทั้งสามฉบับ และอายุความตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้คัดค้านทั้งสามเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเมื่อพ้นกำหนดเวลาสามปีนับแต่เช็คทั้ง 3 ฉบับ ถึงกำหนดใช้เงินนั้นไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 อันจะเป็นเหตุในการเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ

ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดการไต่สวน

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

ผู้คัดค้านทั้งสามอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านทั้งสามประการแรกว่า ผู้คัดค้านทั้งสามมีสิทธิมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยหรือไม่ เห็นว่า นางสาววาณีเป็นมารดาของผู้คัดค้านทั้งสามย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุตรผู้เยาว์ตามมาตรา 1571 ซึ่งทรัพย์สินหมายความรวมถึงสิทธิเรียกร้องอันเป็นวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ตามมาตรา 138 บทบัญญัติมาตรา 1574 มีเจตนารมณ์คุ้มครองประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์โดยให้ศาลกำกับดูแล การฝ่าฝืนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลก่อนก็ไม่ได้ตัดอำนาจทำนิติกรรมแทนของผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะกรรมหรือโมฆียะกรรมตามมาตรา 150 และ 153 คงมีผลเพียงไม่ผูกพันบุตรผู้เยาว์ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครอง ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่มีสิทธิกล่าวอ้างเพื่อตัดอำนาจของผู้ใช้อำนาจปกครอง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าผู้คัดค้านทั้งสามโดยนางสาววาณี ผู้ใช้อำนาจปกครองและผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้คัดค้านทั้งสามบกพร่องเรื่องความสามารถในการมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ข้อนี้ของผู้คัดค้านทั้งสามฟังขึ้น

สำหรับปัญหาเรื่องอายุความ ซึ่งศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องโต้แย้งดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ และการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านในข้อนี้ จึงไม่มีเหตุที่จะต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นไต่สวนข้อเท็จจริงใดอีก

พิพากษากลับเป็นว่าไม่เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาให้เป็นพับ

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร

-การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ

-คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้

-ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้

-ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร

-ด่าว่า จัญไร ถอนการให้ได้

-ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ

-หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่

-การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด

-ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่

-ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร

-คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว

-การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่